รายงานค้นพบจากกรณีเหมืองแร่อมก๋อย บ้านกะเบอดิน

รายงานค้นพบจากกรณีเหมืองแร่อมก๋อย บ้านกะเบอดิน

รายงานค้นพบจากกรณีเหมืองแร่อมก๋อย บ้านกะเบอดิน

ความเป็นมา

โครงการเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย เป็นโครงการที่บริษัท 99 ธุวานนท์ จำกัด ได้ยื่นคำขอประทานบัตรเลขที่ 1/2543 ต่อกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่  กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อประกอบกิจการเหมืองแร่ถ่านหิน ในพื้นที่บ้านกะเบอะดิน หมู่ที่ 12 ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุ่มเนื้อที่ 284 ไร่ – 0 งาน – 30 ตารางวา  ระหว่างทางจากหลุมขุดเจาะ จะต้องขนย้ายแร่ถ่านหินผ่านชุมชนอีกอย่างน้อย 6 หมู่บ้าน

 แม้จะยื่นขอสัมปทานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และได้ทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปแล้วก็ตาม แต่ขั้นตอนสุดท้ายจะต้องผ่านการจัดเวทีรับฟังความเห็นจากชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ตามบทกำหนดในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ในขั้นตอนนี้เองชาวบ้านเกิดการตื่นตัวและพบว่าที่ผ่านมาไม่เคบทราบเรื่องมาก่อน ที่สำคัญไม่เคยมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จึงเกิดการรวมตัวกันคัดค้านการออกใบประทานบัตร เนื่องจากมีความกังวลต่อผลกระทบและความสูญเสียที่อาจตามมาหากมีการเปิดเหมือง

  1. ขอบเขตผลกระทบต่อชมุชน สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

            สืบเนื่องจากพื้นที่ขอประทานบัตรเหมืองแร่ จำนวน  284 ไร่ 0 งาน 30 ตารางวา ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ทำกินของราษฎรบ้านกะเบอะดิน หมู่ที่ 12 ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองกะเหรี่ยง (โผล่ง) ซึ่งมีวิถีชีวิตผูกพันกับทรัพยากรธรรมชาติมาอย่างยาวนาน การปล่อยให้มีเหมืองแร่ในพื้นที่ จ่ะสงผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงลำน้ำสาธารณะ 2 สาย คือลำห้วยผาขาว และ ห้วยอ่างขาง จะส่งผลให้เกษตรกรขาดแหล่งน้ำในการทำนา นอกจากนี้การขนย้ายแร่จากแหล่งขุดเจาะที่กะเบอะดินออกมายังทางหลวง  1099 ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร ก็จะสร้างฝุ่นควัน และ มลพิษทั้งทางอากาศให้กับชุมชนที่อยู่ระหว่างทางอีก 6 ชุมชนอีกด้วย

1.2 สูญเสียที่ดินทำกิน

ในพื้นที่เตรียมเปิดหน้าดินเพื่อขุดแร่และพักแร่นั้น จะทำให้ชาวบ้านที่ทำกินอยู่บริเวณนั้นสูญเสียที่ดินทำกินไป จำนวน 41  แปลง

1.2 สูญเสียแหล่งน้ำในการทำเกษตร

ในพื้นที่ขอประทานบัตรเหมืองแร่ถ่านหิน มีแผนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงเส้นทางของลำน้ำสาธารณะ 2 สาย ได้แก่ลำห้วยผาขาว และลำห้วยอ่างขาง ซึ่งมีประชาชนอาศัยน้ำจากลำห้วยนี้ในการทำนา ซึ่งมีทั้งชาวบ้านกะเบอะดิน บ้านผาแดง และหนองอึ่งใต้

1.3 ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

สำหรับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ผลกระทบด้านนี้ นายสนธยา แสงเพชร ผู้ประสานงานรณรงค์ยุติถ่านหิน กรีนพีช ประเทศไทย  วิเคราะห์ว่าอาจจะมีผลกระทบด้านอื่นที่ยังไม่ได้ระบุไว้ในรายงานอีก เช่น ปัญหาการแย่งใช้น้ำกับชุมชน โดยคาดการณ์ว่าจะมีการใช้น้ำมากถึงวันที่ละ 3.8 แสนลิตร เพื่อล้างแร่ก่อนขนย้ายออกไป ปัญหาถัดมาคือพื้นที่ซับน้ำถูกทำลาย เนื่องจากมีการสูบชั้นใต้ดินออกจากก้นเหมือง รวมถึงอาจมีสารโลหะหนักปนเปื้อนด้วย

ปัญหาถ่านหินอมก๋อย นอกจากมีความกังวลเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ในยุคที่เชียงใหม่กำลังเผชิญกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 จึงเกิดคำถามว่ายังมีความจำเป็นและคุ้มค่าอยู่ไหมที่จะต้องเปิดเหมืองถ่านหินแห่งใหม่

            ที่มา: www.imnvoices.com/กะเบอะดิน: บวชป่า ต้านเหมืองถ่านหิน

1.4 ได้รับผลกระทบจากการขนส่ง

ระยะทางขนส่งแร่จากเหมืองบ้านกะเบอะดิน หมู่ที่ 12  ถึงปากทางบ้านหนองกระทิง ประมาณ 17 กิโลเมตร จะต้องผ่านชุมชนที่ตั้งอยู่ระหว่างทางทั้งสิ้น 6 ชุมชน ได้แก่บ้านแม่อ่างขาง  บ้านมะกอกสามต้น บ้านทุ่งกว้าง บ้านขุน บ้านยองกือ และบ้านหนองกระทิง ซึ่งมีบ้านเรือนติดกับถนน จะต้องรองรับผลกระทบจากฝุ่นควัน มลพิษทางเสียง และด้วยสภาพถนนที่คับแคบย่อมทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย

  • ข้อโต้แย้งของชาวบ้านและเหตุผลในการคัดค้านเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย

            นับตั้งแต่ประชาชนชาวอำเภออมก๋อย ทราบเรื่องการขอประทานบัตรเหมืองแร่เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2562 ก็มีการแสดงจุดยืนคัดค้านการทำเหมืองแร่โดยตลอดมา ทั้งผ่านการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมรณรงค์ และแถลงข่าวในโอกาสต่าง ๆ ผ่านการรวมตัวกันในนาม “เครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย” ข้อโต้แย้งหลักของเครือข่ายคือ ไม่มีกระบวนการปรึกษาหารือที่โปร่งใส และข้อพิรุธในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

แม้ว่าบริษัท 99 ธุวานนท์ จำกัด ได้แสดงเอกสารสำคัญประกอบการขอประทานบัตร แต่ชาวบ้านในพื้นที่บ้านกะเบอะดิน ยืนยันว่าไม่เคยมีส่วนร่วมในกระบวนการปรึกษาหารือในตอนต้น มีเพียงผู้นำชุมชนบางคนเท่านั้นที่ทราบเรื่อง ด้วยเหตุนี้จึงถือว่ากระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ขาดความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ และเมื่อพิจารณาตามเอกสารรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเอกสารประกอบ ปรากฎว่ามีพิรุธหลายประการ เช่น การไม่จัดเวทีปรึกษาหารืออย่างโปร่งใส การปลอมแปลงลายมือชื่อชาวบ้านแนบท้ายรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

  • ข้อเสนอแนะของเครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย
  • ให้นายกรัฐมนตรี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสั่งการยุติเหมืองแร่โดยทันดี
  • หากมีการยืนยันว่าต้องเดินหน้าทำเหมืองแร่ ให้ยกเลิกรายงานวิเคราะห์ผลกระทบฉบับเดิม และจัดให้มีกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ทั้งหมด อย่างโปร่งใส ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
  • เรียกร้องให้มีคำสั่งเพิกถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
admin

Leave a Reply